"นอนไม่หลับ" เพราะพฤติกรรม หรือ เพราะอาการวัยทอง

Last updated: 5 พ.ย. 2566  |  343 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"นอนไม่หลับ" เพราะพฤติกรรม หรือ เพราะอาการวัยทอง

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้น  เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง  และเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง  จากการทำงานหนักมาตลอดทั้งวัน  ความต้องการในการนอนหลับของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ  และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้น  เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  ผู้คนจึงมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากอดีต  ไม่ว่าจะปัญหาความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น  ปัญหาชีวิต  หน้าที่การงาน  หรือกิจกรรมที่มากจนเกินไป  จนนำมาสู่การเกิดภาวะ  “นอนไม่หลับ”  หรือ  “Insomnia”  

          ซึ่งมีรูปแบบของการเกิดอาการมากมาย  เช่น  ใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับได้  การนอนหลับไม่สนิท  การหลับ ๆ ตื่น ๆ  ตลอดทั้งคืน  การตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วนอนต่อไม่หลับ  การตื่นเช้าผิดปกติ  และการตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น  อ่อนเพลีย  เป็นต้น  การนอนไม่หลับจะทำให้คุณรู้สึกเมื่อยล้า  อ่อนเพลียในระหว่างวัน  ขาดสมาธิ  อารมณ์หงุดหงิดง่าย  และทำให้ร่างกายเสียสมดุลการทำงาน  มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ  จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต

          #โรคนอนไม่หลับ  สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกช่วงวัย  คนส่วนมากมักมีอาการนอนไม่หลับเพียง 1-2 คืน  แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์  เดือน หรือ เป็นปี  จากการศึกษาพบว่าโรคนอนไม่หลับ  มักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า  และเกิดในช่วงวัยทองและผู้สูงอายุ  มากกว่าคนวัยทำงานหรือวัยรุ่น  ดังนั้น วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ  ถึงสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ  ว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง  เพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้  หลีกเลี่ยงอาการนอนไม่หลับกันค่ะ

สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ

          1.  สิ่งแวดล้อมระหว่างการนอน  เช่น  การนอนหลับในสถานที่ที่มีเสียงดังรบกวน  มีแสงสว่างมากเกินไป  คับแคบมากเกินไป  การเปลี่ยนสถานที่นอนที่แปลกไป  แล้วทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย  จึงเป็นสาเหตุทำให้นอนหลับยาก

          2. ความเครียด  อาการวิตกกังวล  แรงกดดัน  หรือมีอาการซึมเศร้า  อาการท้อแท้  หมดกำลังใจ  หมดหวังในการใช้ชีวิต  คิดว่าตัวเองไร้ค่า  ปัญหาด้านการเงิน  ครอบครัว  ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้สมองคิดกังวล  ซ้ำไปซ้ำมา  และทำงานต่อเนื่องไม่ยอมหยุดพัก  หยุดคิดไม่ได้  จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้

          3. อาการเจ็บป่วย หรือโรคประจำตัว  เช่น  ปวดท้อง  ปวดตามเนื้อตัว  เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ  มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ  เช่น  มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)  มีอาการไอ  ผู้ที่มีระบบประสาทที่ตื่นตัวมากกว่าปกติ  ทำให้หลับยาก  โรคหัวใจ  โรคกรดไหลย้อน  โรคไฮเปอร์ไทรอยด์  โรคมะเร็ง  เป็นต้น

          4. หน้าที่การงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่เสมอ  เช่น  แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  พนักงานรักษาความปลอดภัย  หรืองานที่ต้องทำในกะดึก

          5. ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทองหรือผู้สูงอายุ  วัยที่มากขึ้น  ทำให้ระดับฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนเมลาโทนิน  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับ  มีปริมาณลดลง ทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

          6. การนอนไม่ตรงเวลา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ  ที่บางครั้งมักนอนเล่นในเวลากลางวัน  ทำให้ช่วงเวลากลางคืนนอนไม่หลับ

          7. การใช้สารที่มีฤทธิ์กระตุ้น  ทำให้ร่างกายตื่นตัว  เช่น  การดื่มชา  กาแฟ  ซึ่งมีสารคาเฟอีนผสมอยู่  การสูบบุหรี่  หรือการใช้ยาบางชนิด  อาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ

วิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ

          วิธีหลัก ๆ ในการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ  คือ  การค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ  และหลีกเลี่ยงสาเหตุนั้นๆ  หรือการปรึกษาแพทย์  หากจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อใช้รักษา  เช่น

          1. หากสาเหตุเกิดขึ้น  เนื่องจากสิ่งแวดล้อมระหว่างการนอน  ไม่เหมาะสม  ควรแก้ไขโดยการจัดที่นอนให้เหมาะสม  สบายเหมาะแก่การนอน  เงียบสงบ  อุณหภูมิที่เย็นสบายพอเหมาะ  ปิดไฟให้มืดสนิท  ไม่ควรเปิดโทรทัศน์  และให้ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด  จะได้ไม่มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ

          2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ก่อนนอน  เช่น  การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย  การแช่น้ำอุ่น

          3. หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน  หรือการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงในช่วงเวลากลางวัน

          4. เมื่อรู้สึกง่วงจะต้องรีบเข้านอนทันที  เข้านอนในเวลาที่ตรงกันทุกคืน  จะทำให้ร่างกายจดจำเวลานอนได้เอง  และเป็นอัตโนมัติ

          5. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก  หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน  เพราะจะทำให้แน่นท้อง  ปวดท้อง  เนื่องจากมีอาการกรดไหลย้อน  ถ้าท้องว่างแล้วมีอาการหิวก่อนนอน  ให้รับประทานอาหารเบา ๆ  เช่น  ขนมปังชิ้นเล็ก  นมอุ่น ๆ  หรือน้ำผลไม้ก่อนนอน

          6. หากเริ่มนอนแล้วนอนไม่หลับ  อาจหาทำกิจกรรมเบา ๆ ช่วย  เช่น  อ่านหนังสือ  ฟังเพลงช้าหรือเพลงบรรเลง  นั่งสมาธิ  เมื่อรู้สึกง่วงจึงเข้ามานอน

          7. ก่อนนอนควรทำสมองให้โล่ง  ปลอดโปร่ง  ไม่นำเรื่องเครียดหรือเสียใจมาคิด  เพราะจะทำให้สมองตื่นตัวและนอนไม่หลับ  ทำจิตใจให้ผ่อนคลายก่อนนอน  อาจใช้กลิ่นเข้ามาช่วยบำบัดก่อนการนอนหลับ  เช่น  การใช้กลิ่นลาเวนเดอร์  หรือกลิ่นคาโมมายล์  ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย  บรรเทาความเครียด  จิตใจสงบ  ปลอดโปร่ง  และผ่อนคลาย

          8. หลีกเลี่ยงการดื่มชา  กาแฟที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน  หรือน้ำอัดลม  เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ  และลดประสิทธิภาพการนอนหลับ

          9. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน  เพราะจะทำให้ร่างกายมีการตื่นตัว  นอนไม่หลับ

          10. รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง  เช่น  ปลา  ถั่วลิสง  ถั่วเปลือกแข็ง  ยอดผัก  และกล้วยสุก  เพราะแร่ธาตุแมกนีเซียม ช่วยลดอาการซึมเศร้า  และมีผลต่อกระบวนการควบคุมการนอนหลับ  โดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโทนิน  นอกจากนั้น  อาหารที่มีโปรตีนและฟอสฟอรัสนั้น  ยังมีแมกนีเซียม  ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการนอนหลับด้วย

          11. การใช้สมุนไพรช่วยในการนอนหลับ  เช่น  ลาเวนเดอร์  การดื่มน้ำขิงก่อนนอน  การรับประทานขี้เหล็ก  มะระ  โกจิเบอร์รี่  ถั่งเช่าทิเบต  จากงานวิจัยพบว่าการรับประทานถั่งเช่า  ช่วยทำให้นอนหลับสนิทมากขึ้น  สามารถช่วยลดปัญหาการตื่นระหว่างคืนได้ดี

          12. ในผู้กำลังอยู่ในช่วงวัยทอง  หรือผู้สูงอายุ  หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำข้างต้น  แล้วไม่ได้ผล  ควรปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัด  แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานฮอร์โมนช่วยให้นอนหลับ  ยานอนหลับ  ยาผ่อนคลาย

          เพียงรับประทาน  M Tale Cordyceps Plus Gojiberry  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของ  ถั่งเช่าทิเบตสกัดและโกจิเบอร์รี่ 1 แคปซูล  ก่อนนอน  ช่วยปรับสมดุลร่างกาย  แก้ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล  ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้สดชื่น  ไม่อ่อนเพลีย  นอนหลับสนิท  เพิ่ม oxygen ในเลือด

          " แล้วคุณจะมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี  หยุดทรมานจากอาการ #นอนไม่หลับ  ที่เคยเป็น "

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้